กล่องข้อความ: 		7-50100-001-070  		  ชื่อพื้นเมือง	:  จันทน์กะพ้อ เ,เขี้ยวงูเขา  ชื่อวิทยาศาสตร์	:  Vatica diospyroides Syming.  ชื่อวงศ์	:  DIPTEROCARPACEAE  ชื่อสามัญ	:  -  ประโยชน์	:  ดอกปรุงเป็นยาหอม , แก้มลม , บำรุงหัวใจ

บริเวณที่พบ : บ้านพักผู้อำนวยการ
ลักษณะพิเศษของพืช : ดอกมีกลิ่นหอม
ลักษณะทั่วไป
ต้น :ขนาดเล็กถึงกลางสูง 6-15 เมตร เปลือกเกลี้ยง สีน้ำตาลปนเทา
ใบ :  ใบใบเดี่ยว ออกสลับรูปใบห่อ ค่อนข้างยาว กว้าง ๔-๗ เซนติเมตรยาว ๑๕-๒๐ เซนติเมตร ปลายเรียวแหลม
โคนสอบเบี้ยว รูปขอบขนาน โคนใบเยื้องกันเล็กน้อย เส้นใบชัดทั้งสองด้าน กลีบรองดอกเป็นรูปสามเหลี่ยม
ดอก : สีขาว หรือสีเหลืองนวล มีขนสีน้ำตาลด้านนอก กลิ่นหอมจัด ตามซอกใบและปลายกิ่ง ด้านนอกของกลีบเลี้ยง
และกลีบดอกมีขนนุ่มกลีบดอก ๕ กลีบ เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๓ เซนติเมตร
เมื่อแก่แตกได้เป็น ๓ เสี่ยง มีกลีบเลี้ยง ๕ กลีบติดที่ขั้ว ออกเป็นช่อสั้นตามกิ่ง
ถิ่นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขึ้นตามป่าดิบชื้นทางภาคใต้ดอกบานเดือนพฤศจิกายน - มีนาคม
มักขึ้นปนกับไม้ยางที่เกิดในที่ราบหรือป่าดงดิบภาคใต้
ขยายพันธุ์ : โดยเมล็ด
ประโยชน์ :
ดอก ปรุงเป็นยาหอม แก้ลม บำรุงหัวใจ

ชื่ออื่นๆ เขี้ยวงูเขา (พังงา) จันทร์ (ภาคใต้)
                

ลักษณะวิสัย
ลำต้น

กลับหน้าหลัก
ใบ
ดอก

 

สรุปลักษณะและข้อมูลพรรณไม้
ชื่อพรรณไม้   จันทน์กะพ้อ , เขี้ยวงูเงา     รหัสพรรณไม้   7-50100-001-070